วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ABACโพลเผยปชช.มองเลือกตั้งปี54มีการทุจริต

ABACโพลเผยปชช.มองเลือกตั้งปี54มีการทุจริต
ABACโพลเผยปชช.มองเลือกตั้งปี54มีการทุจริต เชื่อนักการเมืองซุกเงินในบ้าน หวั่นแก้รัฐธรรมนูญจุดชนวนความขัดแย้ง
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า จากผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญและการลดแลกแจกแถมช่วงเลือกตั้ง ในหมู่ประชาชนกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 17 จังหวัดของประเทศพบว่า ประชาชน 89.7% มองว่าการมีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยในประเทศเป็นเรื่องค่อนข้างดีถึงดีมาก มีเพียง 10.3%ที่คิดว่าไม่ค่อยดีถึงไม่ดีเลย

นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ 91.5% เห็นด้วยว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยยังดีกว่าการปกครองในรูปแบบอื่นถึงแม้มี ปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นและความไม่เป็นธรรมในสังคม

อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการนำรัฐธรรมนูญปี2540มาใช้แทนรัฐ ธรรมนูญปี2550 พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 38.4%ไม่เห็นด้วยแต่จะไม่ชักชวนคนอื่นให้ออกมาคัดค้าน ขณะที่ 9.2% ไม่เห็นด้วยและจะชักชวนคนอื่นออกมาคัดค้าน ส่วนอีก 35.2% เห็นด้วยแต่จะไม่ชัดชวนคนอื่นให้ออกมาเรียกร้อง และ 17.2% เห็นด้วยและจะชักชวนคนอื่นออกมาเรียกร้องให้แก้ไข

"ประเด็นที่น่าเป็นห่วงต่อความคิดเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญก็คือกลุ่มที่ไม่เห็น ด้วยและเห็นด้วยมีสัดส่วนมากพอๆกันจนเกรงว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก รุนแรงของคนในชาติได้"นายนพดลกล่าว

ผลสำรวจยังพบด้วยว่า กลุ่มตัวอย่าง 72.2% คิดว่าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลมีการแจกเงินให้สิ่งของบางอย่างแก่ประชาชนผู้ ใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วงหาเสียง เช่น เงิน ของใช้ และทรัพย์สินอื่นๆ โดยแยกเป็น 24.4% คิดว่ามีการให้มาก และ 47.8% คิดว่ามีการให้บ้างตามลำดับ

ขณะที่ 66.5% ระบุว่า พรรคการเมืองฝ่ายค้านก้มีการแจกเงินให้สิ่งของบางอย่างแก่ประชาชนผู้ใช้ สิทธิเลือกตั้งในช่วงหาเสียงเช่นกัน โดย 16.4%คิดว่ามีการให้มาก และ 50.1% คิดว่ามีการให้บ้าง

นายนพดลกล่าวอีกว่า กลุ่มตัวอย่าง 43.2% คิดว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมามีการแจกเงินให้สิ่งของบางอย่างแก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี2551 ในขณะที่ 28.7% คิดว่าเท่าเดิมและ 28.1% คิดว่าน้อยกว่า

นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือ กรณีข่าวปล้นบ้านปลัดกระทรวงคมนาคมและพบเงินสดจำนวนมากนั้น ผลสำรวจพบว่า ประชาชนกว่า 90% คิดว่ามีการซุกซ่อนเงินสดที่บ้านพักของกลุ่มนักการเมืองและข้าราชการคนอื่นๆ อีก ในขณะที่ 8.3% เท่านั้นที่ไม่คิดว่ามี

ทั้งนี้ผลวิจัยดังกล่าวได้ทำการสำรวจประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 17 จังหวัดของประเทศได้แก่ กทม. แพร่ พิษณุโลก เชียงใหม่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เลย ขอนแก่น อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สตูล และพัทลุง จำนวน 1,994 ตัวอย่าง โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 1-10 ธ.ค.

กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นหญิง 52.6% เป็นชาย 47.4% ส่วนใหญ่ 31.6% มีอายุ 50 ปีขึ้นไป รองลงมาได้แก่ 27.1% อายุ 40-49ปี และ 24.6% อายุ 30-39ปี โดย 31.6% ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป 29.3อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 10.3% พนักงงานบริษัทเอกชน ส่วนด้านการศึกษา 72.6%มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี 23.0% มีการศึกษาระดับปริญญาตรี 4.4%สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ข้อมูลจาก :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น